Return to flip book view

PORTFOLIO

Page 1

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของการทํางานด้านบัญชีในรูปแบบ E-LEARNING ของบริษัท สํานักงานบัญชีและที่ปรึกษาธุรกิจ อินเตอร์ สแตนดาร์ด จํากัดคู่มือ

Page 2

คํานํา เอกสารคู่มือการปฏิบัติงานเล่มนี้เป็นการวบรวมความรู้จากการบูรณาการการเรียนการสอน เอกสาร และตํารา แนวทางการปฏิบัติโดยนําความรู้เหล่านั้นมาประมวลเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของการทํางานด้านบัญชีในรูปแบบE-Learning ของบริษัทสํานักงานบัญชีและที่ปรึกษาธุรกิจ อินเตอร์ สแตนดาร์ดจํากัด" เพื่อเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานสําหรับบริษัทเพื่อใช้ในการจดบันทึก และจัดเก็บข้อมูลความรู้ทั่วไปทางด้านการบัญชี มีความสะดวกต่อการใช้งานได้ง่ายขึ้น ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

Page 3

สารบัญหน้าการขายสินค้า พร้อมติดตั้งหรือพร้อมขนส่งเรื่องใบกํากับภาษีการจ่ายเงินปันผล การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีมีบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะการกรอก ภ.ง.ด.50การให้ของลูกค้าเนื่องจากจัดงานปีใหม่เพื่อส่งเสริมการขาย1-34-67-910-1212-1718-20การยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 21-22

Page 4

1การขายสินค้า พร้อมติดตั้งหรือพร้อมขนส่ง บริษัทฯ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักภาษี ณ ที่ จ่าย ได้โดยยึดตามรายการในเอกสารใบกํากับภาษี เช่น1. ผู้ขายออกเอกสารใบกํากับภาษี แยกค่าสินค้าและค่าบริการออกจากกัน ไม่ว่าจะออกเอกสารฉบับเดียวหรือสองฉบับก็ตาม ผู้ซื้อจะสามมารถหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ได้เฉพาะค่าบริการเท่านั้น ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร2. ผู้ขายออกเอกสารใบกํากับภาษี โดยรวมค่าสินค้าและค่าบริการ เป็นราคาเดียวกัน คือขายสินค้าพร้อมติดตั้ง ผู้ซื้อไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

Page 5

2ตัวอย่างการขายสินค้าพร้อมขนส่ง

Page 6

3ตัวอย่างการขายสินค้าพร้อมติดตั้ง โดยสรุปคือ หากเป็นสินค้าที่รวมค่าสินค้าและบริการในรายการเดียวแล้ว สินค้านั้น ๆ จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ แต่หากมีการแยกค่าบริการออกมาเป็นรายการต่างหาก สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เฉพาะรายการที่เป็นค่าบริการเท่านั้น

Page 7

4ใบกํากับภาษี สาระสําคัญไม่ถูกต้องครบถ้วนยกเลิกใบเก่า ออกใบใหม่การยกเลิกใบกํากับภาษี(1) เรียกคืนใบกํากับภาษีฉบับเดิม และนํามาประทับตราว่า ”ยกเลิก” หรือขีดฆ่าแล้วเก็บรวมไว้กับสําเนาใบกํากับภาษีฉบับเดิม(2) จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวัน เดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกํากับภาษีฉบับเดิม(3) หมายเหตุไว้ในใบกํากับภาษีฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกํากับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ ... เล่มที่ ...” และหมายเหตุการยกเลิกใบกํากับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทําใบกํากับภาษีฉบับใหม่ด้วยการออกใบแทนใบกํากับภาษี1) ใบแทนออกให้ครั้งที่(2) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน(3) คําอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน(4) ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทนบันทึกรายการไว้ด้านหลังสําเนาใบกํากับภาษี สําเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสําเนาใบลดหนี้ด้วย

Page 8

5ผัง FLOWCHART ใบกํากับภาษี การยกเลิกใบเก่า ออกใบใหม่อย่างเป็นขั้นตอน

Page 9

6ข้อความสําคัญในใบกํากับภาษี 1. คําว่า “ใบกํากับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกํากับภาษี3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม4. หมายเลขลําดับของใบกํากับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ6. จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือ ของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี8.ข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนด

Page 10

7การจ่ายเงินปันผล กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกําไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

Page 11

8การบันทึกบัญชีการลงทุนในตลาดหุ้น

Page 12

9การบันทึกบัญชีการลงทุนในหุ้นนอกตลาดสรุปขั้นตอนการจ่ายเงินปันผล

Page 13

10การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีมีบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ ประกอบด้วย1) วัด สภากาชาดไทย2) สถานพยาบาล สถานศึกษาของราชการ3) องค์การหรือสถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษาอื่นที่ รมว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาการคํานวณบริจาควัด

Page 14

11การคํานวณบริจาค รพ.

Page 15

12 บริษัทจํากัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่บริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับสถานพยาบาลของทางราชการ สามารถนํามาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาคไป ทั้งที่จ่ายเป็นเงินสดและทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ

Page 16

13การกรอก ภ.ง.ด.50เงินบริจาค+ภาษีเงินได้ - กรอกในแบบ ภ.ง.ด.50ภ.ง.ด.50 คือ เอกสารอีกหนึ่งชุดที่เจ้าของธุรกิจที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจะต้องใช้ยื่นเสียภาษี ภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ สําหรับแม่ค้าออนไลน์ที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51และภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50

Page 17

14

Page 18

15กรอก ภงด 50 บริจาค รพ. หักได้ 2 เท่า

Page 19

16

Page 20

17 รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลราชการให้กรอกจํานวนเงินที่ได้จ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ เป็นจํานวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมพ.ศ.2561 เป็นต้นไป

Page 21

18ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)เป็นการจัดเก็บภาษีจากมูลค่าของสินค้าและบริการในประเทศรวมถึงการนําเข้าซึ่งผู้ประกอบการจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับราคาสินค้าและบริการจากลูกค้าในอัตรา 7% หลังจากนั้นจะนําเงินที่ได้จากการเรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการส่งให้กับกรมสรรพากร และมีหน้าที่ออกใบกํากับภาษีเป็นหลักฐานโดยการซื้อของขวัญให้ลูกค้าจะมีในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มยังมีภาษีซื้อและภาษีขายด้วยเช่นกันการให้ของลูกค้าเนื่องจากจัดงานปีใหม่เพื่อส่งเสริมการขายการบันทึกบัญชี

Page 22

19ภาษีขายโดยปกติแล้ว การแจกของขวัญ ของชําร่วย ถือเป็นการขาย ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้ามูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญเป็นสิ่งของที่พึงให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และไม่มีราคาหรือมูลค่าเกินสมควร บริษัทก็ไม่ต้องนํามูลค่าของ ของขวัญมารวมคิดภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีซื้อภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าหรือของขวัญเพื่อมาแจก ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถขอคืนได้ แต่สามารถนําไปรวมบันทึกเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ (ค่ารับรอง)

Page 23

201. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มการแจกทองคําให้แก่พนักงาน ถือเป็นการ “ขาย” สินค้าให้แก่พนักงาน ตามมาตรา 77/1 ( 8 ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยคํานวณมูลค่าทองคําเป็นฐานในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมูลค่าที่บริษัทฯ ได้บันทึกรับรู้เป็นทรัพย์สินไว้โดยอนุโลม(1) หากบริษัทฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากพนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีให้แก่พนักงานฯ(2) แต่ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากพนักงาน บริษัทฯ ไม่จําเป็นต้องออกใบกํากับภาษีให้แก่พนักงานฯ ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542ฯ2. กรณีเงินได ้นิติบุคคล(1) ให ้บริษัทฯ รับรู้มูลค่าทองคําตามมูลค่าที่บันทึกรับรู้เป็นทรัพย์สินไว้เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มอบทองคําให้แก่พนักงานตามเกณฑ์สิทธิ(2) หากบริษัทฯ มิได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรถือว่า บริษัทฯ มีรายจ่าย “ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิได้เรียกเก็บ” อันถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65 ตรี (6 ทวิ ) แห่งประมวลรัษฎากร3. กรณีภาษีเงินได ้ ณ ที่จ่าย(1) บริษัทฯ ต้องนํามูลค่าทองคําตามข้อ 2 (1) มาถือรวมเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร(2) และหากบริษัทฯ ไม่ได ้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ#มจากพนักงาน ก็ให ้นําค่าภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อคํานวณภาษีเงินได ้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ด้วยเช่นเดียวกับมูลค่าทองคําตาม (1)แจกทองพนักงานในงานเลี้ยงปีใหม่

Page 24

21การยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 คือ แบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1) (2) ซึ่งเป็นแบบแสดงรายการที่ต้องยื่นเป็นรายเดือน ว่าแต่ละเดือนเราจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1)(2) ไปเท่าไหร่ และนําส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ภ.ง.ด. 1ก คือ แบบแสดงรายการ เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (1) (2)ตลอดทั้งปีภาษี ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ แบบ ภ.ง.ด. 1ก เปรียบเสมือนใบสรุปรายการ ของ ภ.ง.ด. 1 นั่นเอง โดยเป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดตลอดทั้งปี สําหรับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้กับพนักงาน แม้ว่าพนักงานคนนั้น จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์หัก ณ ที่จ่ายก็ตาม

Page 25

22 ภ.ง.ด.3 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทําธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทํางานให้บริษัท ภ.ง.ด.53 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน ซึ่งเอกสารที่ว่านี้จะต้องนําส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน หากเดือนไหนไม่มีการหักก็ไม่ต้องนําส่ง แต่ถ้ามีการหักแต่ไม่นําส่ง ก็จะถูกเสียค่าปรับนะจ๊ะการหัก ณ ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กรมสรรพากรกําหนด แบ่งเป็นรายการที่ต้องหัก คือ

Page 26

จัดทําโดยนางสาวปจทมา จันทรประเสริฐรหัสนักศึกษา 265313100018 สาขาการบัญชีE-MAIL : PATTAMA.J @RMUTSVMAIL.COMอาจารยที่ปรึกษาอาจารยเพ็ญนภา เชาวนาวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย